ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัท ต้องทำอย่างไรบ้าง
แนวโน้มเศรษฐกิจในปัจจุบันยังมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้คนทำงานประจำเริ่มหารายได้แหล่งที่สองกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายออนไลน์ รับจ้างเขียนบทความ หรืออินฟูลเอนเซอร์รีวิวสินค้าต่าง ๆ เรียกได้ว่าผันตัวมาทำธุรกิจขนาดย่อม โดยอีกขั้นของการเติบโตในฐานะผู้ประกอบการหน้าใหม่ คือ การจดทะเบียนบริษัท ซึ่งมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง บทความนี้รวมทุกข้อสงสัยมาไว้ให้แล้ว
จดทะเบียนบริษัทมีกี่ประเภท
การจดทะเบียนบริษัท ประกอบไปด้วย 2 ประเภท โดยอิงจากจำนวนผู้จัดตั้งบริษัท ดังนี้
1. จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)
เป็นการจดทะเบียนบริษัทที่มีผู้ดำเนินกิจการเพียงคนเดียว เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น ฟรีแลนซ์รับจ้างถ่ายภาพ ขายสินค้าบนเว็บไซต์ หรือเปิดหน้าร้านขายของชำ เป็นต้น
2. จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล
เป็นการจดทะเบียนบริษัทที่มีผู้ดำเนินกิจการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ, ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หุ้นส่วนแบบจำกัด/หุ้นส่วนแบบไม่จำกัด), บริษัทจำกัด โดยการตัดสินใจภายในบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดำเนินกิจการทุกท่าน เหมาะสำหรับธุรกิจ SME ขนาดกลางไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่
7 ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัท แบบฉบับเข้าใจง่าย
ถ้าธุรกิจมีรายได้มากกว่า 750,000 บาทต่อปี และเจ้าของธุรกิจต้องการสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างเครดิตทางการเงิน แนะนำให้จดทะเบียนบริษัท โดยทำตาม 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการจดทะเบียน
สามารถตั้งชื่อบริษัทสูงสุด 3 ชื่อ โดยต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับชื่อบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนไปก่อนหน้านั้น จากนั้นยื่นจองชื่อบริษัทกับนายทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือยื่นจองผ่านออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th
2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน
เป็นหนังสือแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท โดยระบุรายละเอียดสำคัญต่างๆ เช่น ข้อมูลผู้จัดตั้งบริษัท, วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท, จำนวนหุ้น ฯลฯ จากนั้นต้องยื่นต่อนายทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนแจ้งผลชื่อบริษัท
3. จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น
ผู้จัดตั้งบริษัทไม่จำเป็นต้องถือหุ้นทั้งหมด อย่างน้อยที่สุดคนละ 1 หุ้น นอกนั้นสามารถขายได้ทั้งหมด โดยเรียกผู้ที่มาซื้อว่า ผู้ถือหุ้น หลังจากขายหุ้นครบแล้ว ให้ดำเนินการออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นทุกท่าน
4. การจัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท
การจัดตั้งจดทะเบียนบริษัทจะประกอบไปด้วยเนื้อหาสำคัญ เช่น กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท, การเลือกคณะกรรมการ, ขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการ, การเลือกผู้ตรวจสอบบัญชี รวมไปถึงค่าตอบแทนต่าง ๆ เป็นต้น
5. เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ
หน้าที่หลักของคณะกรรมการที่ได้รับเลือก ต้องดำเนินการเก็บค่าหุ้นจำนวน 25% ของราคาหุ้นจริง เพื่อนำไปยื่นขอจดทะเบียนบริษัทภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่มีการจัดประชุม ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นโมฆะทันที
6. ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท มีดังนี้ หนังสือรับรอง 40 บาท, คำขอจดทะเบียน 50 บาท, ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน 100 บาท, อากรแสตมป์ 200 บาท, จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500 บาท และจดทะเบียนบริษัทจำกัด 5,000 บาท
7. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
บริษัทได้รับการจัดตั้งเป็นที่เรียบร้อย มีเอกสารทางกฎหมายรับรองอย่างชัดเจน สามารถเดินทางไปรับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเองได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สรุปบทความ
เมื่อรายได้จากการทำธุรกิจแซงรายได้งานประจำ หลายคนเลือกที่จะขยายความสำเร็จให้มากขึ้น โดยการเพิ่มสต๊อกสินค้า เพิ่มจำนวนพนักงาน เหมาะแก่การเช่าออฟฟิศที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ และแน่นอนว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นย่อมมาพร้อมภาระเรื่องค่าภาษีที่ต้องควรระวัง การจดทะเบียนบริษัทจึงตอบโจทย์ ที่สำคัญเริ่มต้นง่าย ๆ 7 ขั้นตอน ไม่เพียงช่วยลดภาระเรื่องค่าภาษี แต่ยังช่วยสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจได้อีกด้วย